พระครูวิธานสุตาภรณ์
วิปัสสนาภาวนา รุ่น ๑๐
วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557
ธาตุ ๔ หรือมหาภูตรูป
รูป หรือรูปขันธ์ หรือกองร่างกาย
เกิดจากเหตุหรือสิ่งที่มาเป็นปัจจัยกันของธาตุทั้ง ๔ อันมี ธาตุดิน อันคือปฐวีธาตุ, ธาตุนํ้า อันคืออาโปธาตุ, ธาตุลม อันคือวาโยธาตุ, และธาตุไฟ อันคือเตโชธาตุ หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่ามหาภูตรูป
มีพุทธพจน์ตรัสไว้เรื่องธาตุ ดังนี้
"ธาตุนั้น คือ ความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา
ก็คงตั้งอยู่อย่างนั้นเอง" (อุปาทสูตร ๒๐/๕๗๖), สิ่งที่ทรงสภาวะของมันอยู่เองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย.
ธาตุดิน หมายถึง สิ่งที่มีสภาวะที่แผ่ไปหรือกินเนื้อที่ เรียกสามัญว่า
ธาตุแข้นแข็งหรือธาตุดิน, สิ่งที่ทรงสภาพเป็นของแข้นคือข้นหรือหนาแน่น,หรือแข็งโดยธรรมชาติของมันนั่นเอง
ได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ
พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง; อย่างนี้เป็นการกล่าวถึงธาตุดินหรือปฐวีธาตุมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
ซึ่งเป็นไปในลักษณะที่คนทุกคนจะทำความเข้าใจได้
ก็เพื่อนำไปสำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน
ให้เกิดปัญญาอันเป็นปัญญาวิมุตติหรือความสุขจาการหลุดพ้นที่ไม่กำเริบเสิบสาน
คือไม่แปรผันดังเจโตวิมุตติ [ดูภาพของเหล่าปฐวีธาตุในทวัตติงสาการ]
หรือจะพิจารณาเห็นดังนี้เพื่อการเจริญกรรมฐานเช่นเดียวกันว่า ธาตุดินหรือปฐวีธาตุ คือ
ธาตุต่างๆทุกชนิดอันล้วนพึงมีอยู่ในดิน จึงเรียกรวมๆกันว่าธาตุดิน เช่น คาบอนร์-C, ไฮโดรเจน-H , อ๊อกซิเจน-O, เหล็ก-Fe, ไนโตรเจน-N , แคลเซี่ยม-Ca, สังกะสี-
Zn....ฯลฯ. กล่าวคือบรรดา ๑๐๘ ธาตุที่ค้นพบ,บรรลุถึงในวิทยาการปัจจุบันนั่นเอง อันล้วนแล้วแต่มีอยู่ในดิน,แฝงอยู่ในดินทั้งสิ้นทั้งปวง
และธาตุต่างๆเหล่านี้ก็ยังมีการรวมตัวกันอยู่ในรูปของสารประกอบต่างๆทุกชนิดอีกด้วย(กล่าวคือ
สังขารปรุงแต่งอย่างหนึ่งนั่นเอง) เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรทหรือแป้ง กระดูก
ไขมัน...ฯลฯ.
ดังนั้นของแข้นแข็งและสารประกอบต่างๆ
จึงล้วนประกอบหรือเกิดมาจากธาตุดินเป็นปัจจัยกันทั้งสิ้น
จึงมีอยู่ในทุกอณูหรือก็คือเซลทุกๆเซลเช่น ในเนี้อเยื่อ, อวัยวะต่างๆทุกส่วนล้วนสิ้น, โปรตีน, ผม, สมอง, ตับ,ม้าม, ผิวหนัง, เลือด, นํ้าเหลือง...ฯลฯ.
กล่าวคือทุกๆส่วนที่เป็นของแข้น,แข็งของร่างกาย, เริ่มแรกสุดของชีวิตนั้น
ธาตุดินก็ย่อมได้มาจากบิดามารดาคือแรกสุดได้จากธาตุดินในไข่ของมารดา
และธาตุดินอีกส่วนหนึ่งจากคันธัพพะ(สเปิร์ม)ของฝ่ายบิดา อันต่างล้วนแต่มีธาตุดินประกอบอยู่ด้วยทั้งสิ้นเช่นกัน(พ่อแม่ก็ได้จากธาตุดินต่างๆจากบรรพบุรุษ
และจากอาหารที่ท่านต้องเติมและถ่ายอยู่เป็นประจำนั่นเองตราบเท่าที่ยังดำรงขันธ์ ๕
อยู่) เมื่อถือกําเนิดเกิดขึ้นมา
ก็ได้ธาตุดินเพิ่มเติมจนเติบใหญ่จากการบริโภค เช่นกินพืชเป็นอาหาร ซึ่งพืชก็ได้ให้ธาตุดินแก่ผู้บริโภค
ซึ่งพืชเองก็ได้ธาตุดินคือแร่ธาตุอาหารต่างๆจากดินที่อาศัยงอกงามอยู่นั่นเอง หรือแม้เมื่อบริโภคเนื้อสัตว์
ซึ่งบ่วงโซ่อาหารสุดท้ายในสัตว์ทุกชนิดเมื่อไล่ลำดับลงมาแล้ว
ก็ต้องลงมาที่พืชล้วนสิ้น ดังเช่น คนกินวัว วัวกินพืช พืชก็กินดิน
ดังนั้นในที่สุดก็ล้วนต้องมาจากธาตุดินเป็นที่สุดนั่นเอง, ดังนั้นจักเห็นได้ด้วยปัญญาว่ากายหรือตัวตนทุกๆส่วน
ทุกๆเซล ทุกๆส่วนประกอบ
ล้วนประกอบด้วยธาตุดินล้วนสิ้นไม่มีข้อยกเว้นแม้แต่หนึ่งอณูเซลเดียว และยังแปรปรวนต้องการธาตุต่างๆหรือธาตุดินอยู่ทุกๆขณะผ่านทางอาหารที่จำเป็นต้องกินต้องถ่ายวันละหลายๆครั้งอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน
ซึ่งเมื่อเป็นเหตุปัจจัยกับธาตุนํ้าและเหตุอื่นๆอย่างเหมาะสมอีกเช่นธาตุลม
จึงเป็นปัจจัยให้เกิด การย่อยสันดาปเกิดธาตุไฟขึ้น ย่อมได้สารประกอบของธาตุต่างๆที่ให้พลังงาน
และสารประกอบต่างๆอันต่างล้วนประกอบมาแต่ธาตุดินตามที่ร่างกายต้องการ
และส่งไปทั่วทุกอณูเซล, ดังนั้นเมื่อกําจัดฆนะความเป็นกลุ่มก้อนมายาที่เห็นคือกายหรือตัวตนหรือรูปขันธ์ออกไปด้วยปัญญาญาณ
อันจักทำให้เราน้อมยอมรับเข้าใจได้ว่า
รูปหรือกายเรานั้นส่วนหนึ่งประกอบด้วยธาตุดิน หรือมีธาตุดินเป็นเหตุ หรือธาตุต่างๆซึ่งมีรวมในธาตุดินนั่นเอง
คือมีธาตุดินเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งของกายอันสําคัญยิ่ง อันดําเนินไปตามกระบวนธรรมต่างๆโดยคร่าวๆดังนี้
อาหารอันประกอบมาแต่ธาตุดิน
ทาน ย่อย เป็นธาตุต่างๆ,
สารประกอบจากธาตุต่างๆ อันถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต
เพื่อนําส่งไปตามส่วนต่างๆของร่างกายทุกอณูเซล มากบ้างน้อยบ้าง ตามเหตุปัจจัย
สังเกตุธาตุดินเหล่านี้ว่า ทุกท่านต้องเติม และขับถ่ายอยู่ทุกวัน
มีการเสื่อมสลายหรือแปรปรวนไปในรูปแบบต่างๆ มีความไม่เที่ยงแปรปรวนแม้แต่ในตัวของธาตุดินเอง
และด้วยเหตุที่ธาตุดินเองก็ยังไม่เที่ยง
แล้วกายหรือตัวตนของเราอันเป็นผล จักเที่ยงได้อย่างไร!
ธาตุดินที่ทานลงไปก็แปรปรวนไปภายในตัวเองเช่นกันแม้แต่เมื่อขับถ่ายออกมาก็เป็นธาตุดินอีกชนิดหนึ่ง เกิดขึ้น แปรปรวน
และดับไปภายในตัวของธาตุดินเองอีกด้วยเช่นกัน
ธาตุนํ้า อาโปธาตุ สภาวะที่เอิบอาบ ดูดซึม
แผ่ซ่านออกไป เรียกสามัญว่า ธาตุเหลวหรือธาตุน้ำ อันพระองค์ท่านได้จำแนกไว้ ๑๒
อย่าง คือ ดี เสลด น้ำเหลืองหรือน้ำหนอง เลือด
เหงื่อ มันข้น น้ำตา
เปลวมัน น้ำมูก น้ำลาย
ไขข้อ มูตร อย่างนี้เป็นการกล่าวถึงธาตุน้ำหรืออาโปธาตุมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
ซึ่งเป็นไปในลักษณะที่คนทุกคนจะเข้าใจได้
ก็เพื่อนำไปสำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐานได้
หรือพิจารณาตามเป็นจริงดังนี้ก็ได้ว่า
ตัวตนก็ประกอบไปด้วยธาตุนํ้าที่มาจากการดื่มและแม้ในอาหารที่กินอยู่ทุกๆวัน
แม้ในขณะเป็นทารกก็ได้ธาตุนํ้าจากนํ้านม
อีกส่วนหนึ่งของนํ้านมนั้นก็ให้ธาตุดินเช่นกัน
ธาตุนํ้าหรือสิ่งที่ทรงสภาพเอิบอาบดูดซึมหรือธาตุเหลว
กล่าวคือส่วนของเหลวต่างๆในร่างกาย รวมทั้งในเซลทุกๆอณูเซล
ทั้งในระบบร่างกายทุกๆส่วน เลือด นํ้าเหลือง นํ้ามูก นํ้าย่อย นํ้าดี....และแม้แต่ในทุกอวัยวะน้อยใหญ่ที่เป็นธาตุดิน
ฯลฯ. ไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้
เป็นเหตุปัจจัยที่ต้องนําเติมมาจากการดื่ม การกิน เติมเข้า ถ่ายออก
อยู่เยี่ยงนี้ตราบที่ขันธ์ทั้ง ๕ ยังดำรงอยู่
ถ้าเราโยนิโสมนสิการก็จักน้อมยอมรับได้ด้วยปัญญาญาณว่า กายนั้นเป็นมีนํ้าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งอีกสิ่งหนึ่ง
กล่าวคือมีนํ้าเป็นเหตุปัจจัยอันสำคัญยิ่งของกาย เหตุหนึ่ง อันดําเนินเป็นไปตามกระบวนธรรมดังนี้
นํ้า ดื่มหรือกิน ดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต
เพื่อนําส่งไปตามส่วนต่างๆของร่างกายทุกเซล มากบ้างน้อยบ้าง ตามเหตุปัจจัย
ธาตุนํ้าที่ทานลงไปก็แปรปรวนไปภายในตัวเองเช่นกันเมื่อขับถ่ายออกมาก็เป็นธาตุนํ้าอีกชนิดหนึ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นอีก เกิดขึ้น แปรปรวน
และดับไปภายในตัวของธาตุนํ้าเองอีกด้วยเช่นกัน
ดื่มนํ้าเข้าไป แปรปรวน เปลี่ยนแปลง ดับไป
เกิดเป็นแอมโมเนียบ้าง เหล่านี้เป็นต้น
ธาตุลม วาโยธาตุ ความเป็นของพัดไปมา ลมที่พัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ
ลมอันอยู่ในท้อง ลมอันอยู่ในลำไส้
ลมอันแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่
ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก เช่น
ลมหายใจอันไม่น่าปรารถนา ลมหมักหมมเหม็นเน่าอยู่ในท้อง อย่างนี้เป็นการกล่าวถึงธาตุลมหรือวาโยธาตุมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
ซึ่งเป็นไปในลักษณะที่คนทุกคนจะเข้าใจได้
ก็เพื่อนำไปสำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐาน
หรือพิจารณาว่า เราได้ธาตุลมจากการหายใจอยู่ทุกๆขณะ
เป็นปัจจัยที่จําเป็นในการคงชีวิตเหมือนธาตุอื่นๆ และบางส่วนจากส่วนเกินของขบวนการย่อยสันดาปของอาหาร
เช่นลมในท้องจากการย่อยสันดาปอาหาร ฯลฯ., ธาตุลมมีอยู่ในทุกอณูเซลของร่างกายเช่นกัน
โดยการนําพาออกซิเจนหรือลมที่อยู่ในปอดโดยกระแสโลหิต
อันจําเป็นอย่างยิ่งในการดํารงชีวิตและการยังชีวิตของทุกๆเซลที่มีชีวิตในร่างกาย ถ้าเราโยนิโสมนสิการ เราจักยอมรับได้ว่า
ตัวกายเรานั้นส่วนหนึ่งประกอบด้วยธาตุลม
หรือลมนั้นเป็นเหตุปัจจัยของกายอันสําคัญยิ่งเช่นกัน
ลม หายใจ ปอด
ดูดซึมออกซิเจนเข้าสู่กระแสโลหิต
เพื่อนําส่งไปตามส่วนต่างๆของร่างกายทุกเซล มากบ้างน้อยบ้าง.
ธาตุลมที่หายใจเข้าไป ก็แสดงอาการแปรปรวน เปลี่ยนแปลงแสดงความไม่เที่ยง
จากธาตุอ็อกซิเจน แปรปรวน และปรุงแต่งเป็นธาตุลมอีกชนิดหนึ่ง
คือเกิดเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ เป็นต้น
ธาตุไฟ เตโชธาตุ
ความเป็นของเร่าร้อน
สิ่งที่เป็นเครื่องอบอุ่นแห่งกาย และทั้งเป็นสิ่งที่เป็นเครื่องทรุดโทรมแห่งกาย
สิ่งที่เป็นเครื่องเร่าร้อนแห่งกายยามเมื่อเจ็บป่วยไข้
และสิ่งที่เป็นเครื่องทำให้แปรปรวนไปด้วยดีแห่งของที่กินแล้ว ดื่มแล้ว
เคี้ยวแล้ว และของที่ลิ้มรสแล้ว กล่าวคือแปรปรวนของที่กินและลิ้มแล้วให้เป็นพลังงานและสารของเสียต่างๆออกมา อย่างนี้เป็นการกล่าวถึงธาตุไฟหรือเตโชธาตุมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล
ซึ่งเป็นไปในลักษณะที่คนทุกคนจะเข้าใจได้
ก็ล้วนเพื่อนำไปสำเร็จประโยชน์ในการเจริญกรรมฐานหรือการวิปัสสนานั่นเอง
หรือพิจารณาดังนี้ว่า
เราได้ความร้อนหรือธาตุไฟมาจากการเป็นเหตุปัจจัยธาตุดิน,ธาตุนํ้าและธาตุลมที่ต้องหมั่นเติมอยู่ตลอดเวลา
และเมื่อรวมกับธาตุลมที่เราหายใจอยู่ทุกขณะจิต ตลอดจนเหตุปัจจัยอื่นๆอีก
จึงทําให้เกิดกระบวนการย่อยสันดาป(Oxidation)เกิดเป็นพลังงานและความร้อนต่างๆขึ้นภายในกายในการดํารงชีพเป็นปกติ อันล้วนแล้วเกิดจากการย่อยสลายแปรปรวนและผสมผสานของปัจจัยต่างๆเพื่อการสันดาปให้เกิดพลังงานในรูปสารประกอบชีวะเคมี
อันนําส่งไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกายทุกอณูเซล
อันยังให้เกิดความร้อนและพลังงานอันคือธาตุไฟนั่นเอง ตลอดจนความร้อนอันเกิดแต่เหตุปัจจัยภายนอกเช่น
พระอาทิตย์ จากไฟ อันทําให้เกิดความอบอุ่นในการยังชีวิต ฯลฯ.
ถ้าเราโยนิโสมนสิการ
เราจักยอมรับได้ด้วยปัญญาญาณว่า
ตัวกายเรานั้นส่วนหนึ่งประกอบด้วยธาตุไฟ
หรือไฟนั้นเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งอันยังให้เกิดกายนั่นเอง อันดําเนินไปตามกระบวนธรรมดังนี้
อาหาร ทาน ย่อย
เกิดการสันดาปของธาตุดินนํ้าลมเป็นสารประกอบชนิดให้พลังงานอันล้วนเกิดแต่เป็นเหตุปัจจัยแก่กันและกัน ดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิต
เพื่อนําส่งไปตามส่วนต่างๆของร่างกายทุกเซล มากบ้างน้อยบ้าง.
ธาตุไฟอันอยู่ในรูปของสารประกอบที่ให้พลังงานออกมา ก็ยังคงมีความแปรปรวน
เปลี่ยนแปลงไปต่างๆนาๆเช่นเดียวกัน ในรูปของเสียที่คงเหลือจากการใช้ต่างๆ
ธาตุทั้ง ๔ ที่ประกอบกันเป็นรูปกายหรือตัวตนนั้น
ถ้าพิจารณากันอย่างวิทยาศาสตร์ก็กล่าวได้ว่าคือสารประกอบอย่างหนึ่งของธาตุทั้ง
๔ นั่นเอง, ตัวธาตุอันเป็นเหตุของรูปที่มาเป็นปัจจัยกันก็ยังล้วนมีความไม่เที่ยง
มีความแปรปรวน
ทุกขังทนอยู่ด้วยยากหรือคงทนอยู่ไม่ได้นั่นเอง และเป็นอนัตตาในที่สุด กล่าวคือ
แม้ธาตุดินหนึ่งๆเข้าไปในกายแล้วก็ล้วนแปรปรวนไปเป็นธาตุดินอื่นๆ คงทนอยู่ไม่ได้ขับถ่าย
และหลุดล่วงเสื่อมดับไป
ไม่คงสภาพของธาตุดินต้นกำเนิดแต่อย่างใด
ส่วนนํ้านั้นเล่า
เมื่อเข้าไปสู่กายก็ยังเป็นนํ้าดีๆอยู่
แต่ก็ต้องแปรปวนไม่เที่ยงไปเป็นนํ้าต่างๆในร่างกาย เป็นของเสียยูเรียบ้าง
นํ้ามูก นํ้าเลือด นํ้าหนอง ต่างๆนาๆ
ไม่คงรูปของธาตุนํ้าเดิมๆอีกต่อไป
และคงทนอยู่ไม่ได้ถูกขับออกมาตลอดเวลา
เป็นอนัตตาในที่สุด ส่วนธาตุลมเล่า เมื่อเข้าไปก็แปรปรวนจาก O2
เป็น CO2 เสียด้วยความไม่เที่ยง
และคงทนอยู่ยากต้องหายใจออกมา
แสดงอนัตตาในลักษณาการเดียวกัน
ส่วนธาตุไฟเล่า ก็ไม่คงที่คงทน
เมื่อธาตุใดแปรปรวนก็ร้อนเกินปกติบ้าง ร้อนน้อยกว่าปกติบ้าง
ต้องวิ่งหาหมอกันให้วุ่นว่าย แล้วก็ดับๆเกิดๆทดแทนกันอยู่ตลอดเวลา จนในที่สุดก็ดับไปอย่างถาวร ก็เป็นอนัตตา
เมื่อเข้าใจได้ดังนี้แล้ว อาศัยสมถกรรมฐานให้ใจสงบ
แล้วเจริญวิปัสสนาให้เห็นได้ด้วยปัญญาตนว่า
ตัวตนหรือรูปขันธ์หรือสังขารร่างกายทั้งปวงนั้น ความจริงแล้วในแต่ละอณูเซล(Cell)ล้วนประกอบด้วยธาตุ
๔ ล้วนสิ้น แล้วจึงมาประชุมเป็นมวลรวม,เป็นกลุ่ม,เป็นก้อนของอวัยวะน้อยใหญ่
ฯลฯ. ในลักษณาการที่แสดงด้วยภาพด้านล่างนี้
จนเป็นตัวตนเป็นกลุ่มก้อนที่แลดู เป็นหนึ่ง
เป็นรูปเดียวในขณะระยะหนึ่ง
และยังเกิดช่องว่างต่างๆของอวัยวะน้อยใหญ่ (อากาสธาตุ) และเชื่อมโยงกันโดยวิญญาณธาตุอันคือระบบประสาทต่างๆนั่นเอง
จึงเป็นเพียงแลดูประหนึ่งว่าเป็นชิ้นเป็นมวลเป็นตัวตนหรือบุคคลเดียว
แต่แท้ที่จริงกลับประกอบขึ้นแต่เหตุต่างๆมาเป็นปัจจัยกัน มิใช่สิ่งๆเดียวกันอย่างแท้จริง
จึงย่อมไม่สามารถรวมกันได้อย่างจริงแท้แน่นอน อันในที่สุดจึงย่อมต้องแปรปรวน(อนิจจัง) จึงคงทนอยู่ไม่ได้(ทุกขัง) ย่อยยับแตกดับ
กลับคืนสู่สภาพเดิมๆคือสูญล้วนสิ้น เป็นที่สุด กล่าวคือ
สภาวะของสมมติสัจจะต้องดับไป
แล้วแสดงสภาวะของพระอนัตตา
ที่ไม่มีตัวตนอย่างเป็นแก่นแกนถาวรแท้จริงหรือสูญอันเป็นปรมัตถสัจจะ
ดิน นํ้า
ลม ไฟ
|
ไฟ นํ้า
ลม ดิน
|
นํ้า ดิน
ไฟ
ลม
|
ดิน นํ้า
ลม ไฟ
|
นํ้า ไฟ
ดินลม
|
ไฟ ดิน
ลมนํ้า
|
ไฟดิน
ลม นํ้า
|
ดิน
ไฟ
นํ้าลม
|
ดิน
ไฟ
ลม ดิน
|
ดินไฟนํ้าลมไฟดิน
|
ดินนํ้าไฟ
ลม นํ้า
|
ดิน ไฟ
ลมนํ้าไฟ
|
ภาพแสดงอณู(เซล)ที่ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ ที่มาประชุมรวมกันเป็นกลุ่มก้อน
เป็นอวัยวะต่างๆ ฯลฯ.
จนเป็นตัวเป็นตนคือรูปในที่สุด
แต่ก็ในชั่วขณะระยะหนึ่งๆเท่านั้น
ถ้าไม่สามารถพิจารณาเห็นเข้าใจได้ดังนี้
ก็อาจใช้วิธีน้อมนึกพิจารณาว่า ดุจดั่งมีดินนํ้ามันอยู่ ๔ ก้อน
แต่ละก้อนล้วนคนละสี
แล้วมีแรงมากระทำคือปรุงแต่ง
คือนำมาบดขยี้ให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันอย่างกลมกลืน แต่ละสีก็อุปมาดั่งธาตุแต่ละธาตุ เมื่อนำมารวมกันอย่างกลมกลืนดียิ่งแล้ว
ก็จะได้ดินนํ้ามันในรูปแบบเฉดสีอีกอย่างหนึ่งแตกต่างกันไป
อุปมาได้ดั่งกายเราในบัดนี้นั่นเอง ที่มีธาตุทั้ง
๔ รวมกันอย่างแลดูว่า กลมกลืนดุจดั่งดินนํ้ามันก้อนเดียวกันทีเดียว มิได้แลดูแยกกันอยู่เป็นส่วนๆ
แต่ถึงกระไรก็ตามล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยอันคือดินนํ้ามัน ๔ สี ๔ ก้อนนั้น
อันมีกรรม(การกระทำ)ของเราที่บดขยี้เป็นเครื่องปรุงแต่ง ดุจดั่งชีวิตก็เป็นเฉกเช่นกันแสดงธาตุ ๔
ในมหาหัตถิปโทปมสูตร
เห็นได้ว่า
หรือน้อมเข้าใจเพื่อการเจริญวิปัสสนาได้ว่ารูปหรือกายนี้ล้วนเกิดแต่
"เหตุปัจจัย"โดยปัญญาญาณ, อันเกิดมาจากการประชุมรวมกันชั่วระยะหนึ่งของธาตุทั้ง
๔ เป็นรูปร่างกลุ่มก้อนมายาขึ้น
และธาตุทั้ง ๔ นั้นต่างก็ล้วนเกิดขึ้น
ตั้งอยู่อย่างแปรปรวน
และดับไปอยู่ตลอดเวลาทุกขณะ
และด้วยเหตุปัจจัยปรุงแต่งอันสําคัญอีกเช่นกันอันคือนามหรือจิต
(อันก่อให้เกิดกรรมอันคือการกระทําที่มีเจตนา
อันทําให้ชีวิตเป็นไปตามกรรมคือการกระทํานั้นนั่นเอง), และธาตุทั้ง ๔ หรือมหาภูตรูปก็เป็นเหตุปัจจัยยังให้เกิดอุปาทายรูป
๒๔ หรือที่กันเรียกว่ารูปอาศัย กล่าวคือ รูป
ที่อาศัยเกิดสืบเนื่องต่อจากมหาภูตูรูป เป็นอายตนะต่างๆ เพศ ความสวยงาม ฯลฯ. ดังนั้นเมื่อฝ่ายรูปรวมกับฝ่ายนามหรือจิต
ก็เกิดเป็นชีวิตที่สมบูรณ์ขึ้น กล่าวคือ เมื่อครบขันธ์ทั้ง ๕
อันเมื่อรู้ด้วยสัมมาญาณแล้ว ยังต้องหมั่นพิจารณาเพื่อเป็นเครื่องรู้
เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติว่า กายเป็นเพียงสักแต่ธาตุ ๔ หรือสรีระยนต์อันเป็นคำที่หลวงปู่เทสก์
เทสรังสีใช้อุปมาถึง กาย
หมายถึงเป็นเพียงสักแต่ว่าเครื่องจักร เครื่องยนต์ หรือหุ่นยนต์อย่างหนึ่งใช้ทำการงาน อันล้วนเกิดมาแต่ธาตุ ๔ เท่านั้น, อันเมื่อเกิดแต่เหตุปัจจัยปรุงแต่ง
จึงไม่ใช่สิ่งๆเดียวกัน จึงย่อมต้องไม่เที่ยง
คงทนอยู่ไม่ได้ เป็นทุกข์
เป็นอนัตตา
เพื่อให้เกิดนิพพิทาความหน่าย จึงคลายกําหนัด คลายความยินดี ความชื่นชม
ความยึด ความอยาก หรือดับตัณหา ในกายแห่งตน ตลอดจนในสังขารต่างๆ พิจารณาทั้งเมื่อถอนออกจากสมาธิ
เมื่อถอนออกจากจิตสงบ
และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชีวิตประจําวัน
ว่าเพราะล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัย จึงไม่เที่ยง จึงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ดังนั้นสังขารร่างกายและสังขารทั้งหลายทั้งปวง
จึงเป็นไปดังนี้
ตัวกู ยังไม่ใช่ ของกู
แล้วสิ่งทั้งหลายทั้งปวงจะเป็น ของกู หรือ ดังใจกู ได้อย่างไร
ตัวกู ยังสักแต่ว่าเหตุปัจจัยของ ธาตุทั้ง ๔, แม้แต่ชีวิตของกู ยังสักแต่ว่าเหตุปัจจัยของ
ขันธ์ทั้ง ๕
ทั้ง ตัวกู ชีวิตกู
ยังเป็นเพียงกลุ่มหรือก้อนของเหตุที่มาเป็นปัจจัยกันเท่านั้นเอง
ถ้า ตัวกู เป็น ของกู แล้วไซร้
จะต้องควบคุมบังคับบัญชาได้ดังใจปรารถนา
ไม่ใช่การควบคุมได้บ้าง
ไม่ได้บ้าง
ดังเช่นปวงสังขารทั้งปวง
ต้องเป็นไปดังใจ จึงไม่เป็นไปเพื่ออาพาธเจ็บป่วยแก่ตาย
แต่เพราะ ตัวกู ไม่ใช่ ของกู อย่างแท้จริง
จึงควบคุมไม่ได้ดังใจปรารถนา
ล้วนเป็นไปตาม เหตุปัจจัย
เพียงแต่บางครั้ง เมื่อเป็นไปตาม เหตุปัจจัย
อันปรุงแต่งขึ้น
แต่ไปตรงตามใจปรารถนาเข้า
จึงเกิดมายาจิต
ไป หลงคิดหลงยึด ว่าเป็น ตัวกู ของกู
หรือไปหลงคิดว่า มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดมาดลบันดาลให้เกิดขึ้น
จึงเป็นทุกข์เป็นร้อนกันไปทั่วทุกโลกธาตุ
ด้วยไฟแห่ง อุปาทานทุกข์
พนมพร
ตัวกูไม่ใช่ของกู นี้ นอกจากความ เกิด แก่ เจ็บตาย
พลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ประสบสิ่งที่ไม่รัก
ปรารถนาสิ่งอันใดไม่ได้ในสิ่งอันนั้นแล้ว อันเป็นทุกขอริยสัจ, ลองพิจารณาดูว่า
เมื่อมีอารมณ์สิ่งใดมากระทบกับอายตนะภายในนั้นๆ
วิญญาณของอายตนะภายในนั้น ย่อมเกิดขึ้น ทำหน้าที่ของเขา
จะไปควบคุมบังคับก็ไม่ได้ว่า วิญญาณเอ๋ย
เจ้าจงอย่าเกิดเลย เจ้าจงดับไปเถิด
หรือเจ้าจงเกิดขึ้นเถิด เจ้าจงอย่าได้ดับไป ย่อมไม่ได้ดังปรารถนา และยังต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยต่อเนื่องไปอีก กล่าวคือ
และเมื่อครบองค์ของการผัสสะแล้ว ย่อมเกิดเวทนาเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง
ไม่สุขไม่ทุกข์หรือเฉยๆบ้าง อย่างหนึ่งอย่างใด
แล้วบังคับบัญชาในเวทนาก็ไม่ได้ว่า เวทนาเอ๋ย เจ้าจงอย่าเกิดเลย
เจ้าจงดับไปเถิด
หรือเจ้าจงเกิดขึ้นแต่สุขเถิด เจ้าจงอย่าได้เกิดทุกข์เลย แต่กลับต้องดำเนินไปตามเหตุปัจจัย กล่าวคือ
ดำเนินไปตามกระบวนธรรมของชีวิตหรือขันธ์ ๕
หรือดำเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทอันเป็นทุกข์
http://www.nkgen.com/471.htm
สมัครสมาชิก:
บทความ
(
Atom
)